วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บทที่ 3 - การใช้กฎหมายอาญา


เมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น และความผิดนั้นยอมความไม่ได้ หรือเป็นความผิดที่ยอมความได้แต่ผู้เสียหายติดใจที่จะให้มีการดำเนินคดี ก็เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องเข้ามาเกี่ยวข้องโดยนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษแต่อย่างไรก็ตามกระบวนการใช้บังคับกฎหมายอาญานั้นจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงการนำตัวผู้บริสุทธิ์มาลงโทษให้มากที่สุดการบังคับใช้กฎหมายอาญาจึงต้องมีความเป็นธรรมเอกลักษณ์ของกฎหมายอาญามีอยู่ในมาตรา 2 ของประมวลกฎหมายอาญา

ส่วนที่ 1 เวลาในการกระทำผิดของกฎหมายอาญา ผู้กระทำไม่ต้องรับผิดในทางอาญาหากการกระทำนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ในขณะกระทำว่าเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้

ส่วนที่ 2 สถานที่ที่กฎหมายอาญาใช้บังคับหน้า รู้การกระทำความผิดในราชอาณาจักร หมายความว่า ความผิดนั้น ได้กระทำลงในราชอาณาจักรและผลของการกระทำความผิดนั้นก็เกิดในราชอาณาจักรด้วย

กรณีกระทำความผิดในราชอาณาจักรนี้ แยกออกเป็น 2 ประการคือ
  1. กระทำความผิดในราชอาณาจักรโดยตรง ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 4 วรรคแรก “ผู้ใดกระทำความผิดในราชอาณาจักรต้องรับโทษตามกฎหมาย”
  2. กรณีกฎหมายให้ถือว่ากระทำความผิดในราชอาณาจักร
การใช้กฎหมายอาญา แบ่งออกเป็น 2 หมวด

หมวดที่ 1 เวลาที่กฎหมายอาญาใช้บังคับ

หลักทั่วไปของกฎหมายอาญามีอยู่ว่า กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลัง กล่าวคือ บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิด และกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย

หมวดที่ 2 สถานที่ที่กฎหมายอาญาใช้บังคับ
ตามมาตรา 4 วรรคหนึ่ง “ผู้ใดกระทำผิดในราชอาณาจักรต้องรับโทษตามกฎหมาย” อันเป็นการรับหลักดินแดนดังกล่าวแล้ว คำว่า “ผู้ใด” หมายความรวมทั้งคนไทยและคนต่างด้าวไม่จำกัดสัญชาติ แต่มีข้อยกเว้นบุคคลบางประเภทไม่ต้องรับผิดหรือไม่ต้องรับโทษในประเทศได้ ตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายระหว่างประเทศคือพระมหากษัตริย์ ฑูต และบุคคลอื่น ๆ ที่ได้รับเอกสารสิทธิ์และความคุ้มกันตามกฎหมายระหว่างประเทศหรือกฏหมายพิเศษ กับในบางกรณีผู้กระทำความผิดนอกประเทศอาจจะต้องรับโทษในประเทศได้

คำว่า “ราชอาณาจักร” นั้นประมวลกฎหมายอาญามิได้ให้ความหมายไว้จึงต้องไปศึกษาจากกฎมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญาว่าราชอาณาจักรนั้น ได้แก่

  1. พื้นดินและพื้นน้ำ เช่น แม่น้ำ ลำคลองซึ่งอยู่ในอาณาเขตของประเทศ
  2. ทะเลอันเป็นอ่าวไทย ตามพระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502
  3. ทะเลอันห่างจากฝั่งที่ดินแดนของประเทศไม่กิน 200 ไมล์
  4. พื้นอากาศเหนือ (1) (2) และ (3)

คำว่า “กระทำความผิดในราชอาณาจักร” จึงหมายความว่าความผิดนั้น ได้กระทำลงในราชอาณาจักร และผลของการกระทำความผิดนั้นก็เกิดในราชอาณาจักรด้วย ส่วนการนำหลักในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ไปใช้กับกฎหมายอื่น ตามมาตรา 17 มีหลักเกณฑ์ว่า บทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายนี้ให้ใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย ข้อยกเว้น กฎหมายนั้น ๆ จะได้บัญญัติไว้อย่างอื่น หมายความว่าหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญาย่อมนำไปใช้กับพระราชบัญญัติต่างๆ อันมีบทกำหนดโทษทางอาญาได้ด้วย เว้นแต่พระราชบัญญัตินั้นๆ จะได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะต่างหากแล้วจึงไม่ต้องนำไปใช้


แนวคิด 

  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 ที่ว่า “บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิด และกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย” ที่ว่า “ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิด” หมายความว่าอย่างไร
ตอบ หมายความว่า การกระทำอันเป็นองค์ความผิดต้องได้กระทำในระหว่างที่กฎหมายซึ่งบัญญัติเป็นความผิดขึ้นนั้นกำลังใช้บังคับอยู่




  • นายไก่กระทำความผิด แต่ในขณะกระทำผิดนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ แต่มาบัญญัติในภายหลังว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด นายไก่จะต้องมีความผิดและรับโทษหรือไม่อย่างไร
ตอบ ไม่ต้องรับโทษ เพราะการกระทำที่บุคคลจักต้องรับโทษอาญามักจะต้องเป็นการกระทำผิดต่อกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้น ถ้าในขณะกระทำนั้นไม่มีกฎมายบัญญัติเป็นความผิด และกำหนดโทษไว้ แต่มาบัญญัติในภายหลังว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดก็จะย้อนไปลงโทษผู้กระทำไม่ได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น