วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บทที่ 4 - ประเภทความผิดและความรับผิดในทางอาญา




ประเภทความผิด การวิเคราะห์เพื่อจำแนกประเภทความผิดอาจจะทำได้หลายทาง คือ
  • การแยกประเภทความผิดในแง่การกระทำ
(ก)  ความผิดโดยการกระทำ หมายถึง ความผิดที่ต้องมีการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้กระทำความผิด ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับจิตใจของบุคคลนั้น
(ข)  ความผิดโดยการละเว้นกระทำ หมายถึง ความผิดอันเกิดขึ้นจากการไม่ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่เกี่ยวกับการงดเว้น
  • การแยกประเภทความผิดในแง่กฎหมาย
  • การแยกประเภทความผิดที่ต้องมีผลปรากฏ และความผิดที่ไม่ต้องมีผลปรากฏ
  • การแยกประเภทความผิดเป็นความผิดธรรมดากับความผิดซ้ำซ้อน
  • การแยกประเภทความผิดในแง่เจตนา ซึ่งได้แก่ ความผิดที่กระทำโดยประมาทความผิดที่กระทำโดยเจตนา ความผิดที่ไม่ต้องมีเจตนา ความผิดชนิดนี้ต้องรับผิดชอบในผลสุดท้ายแห่งเจตนา
2.  ความรับผิดในทางอาญา บุคคลจะต้องรับผิดชอบในทางอาญาต้องมีการกระทำที่ครบ 3 องค์ประกอบดังต่อไปนี้
  1. การกระทำต้องครบองค์ประกอบความผิดที่กฎหมายบัญญัติไว้
  2. การกระทำนั้นไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด
  3. การกระทำนั้นไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษ
องค์ประกอบที่ 1 การกระทำนั้นต้องครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 4 ประการ

ประการแรก จะต้องมีการกระทำ
ประการที่สอง การกระทำครบองค์ประกอบภายนอก
ประการที่สาม การกระทำครบองค์ประกอบภายใน
ประการที่สี่ ผลของการกระทำต้องสัมพันธ์กับการกระทำ

ความหมายของการกระทำ การกระทำคือการเคลื่อนไหวร่างกายหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกาย โดยรู้สำนึก    องค์ประกอบที่ 2 การกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด องค์ประกอบที่ 3 การกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษ

สรุปหลักทั่วไป บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำครบองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายบัญญัติและจะต้องไม่มีกฎหมายบัญญัติยกเว้นความผิดหรือยกเว้นโทษ

การกระทำโดยเจตนา การกระทำจะมีความผิดอาญาก็ต่อเมื่อผู้กระทำผิดมีเจตนากระทำผิด เว้นแต่ความผิดฐานประมาท ซึ่งมีเจตนาไม่ได้ และความผิดอื่นไม่มีเจตนากฎหมายก็บัญญัติว่าเป็นความผิด
การกระทำโดยประมาท การกระทำโดยประมาท เป็นข้อยกเว้นอันหนึ่งของความผิดอาญาที่ไม่ต้องมีเจตนาจะเป็นการกระทำโดยประมาท ต้องมีหลักเกณฑ์ดังนี้

(1)  เป็นการกระทำความผิดมิใช่เจตนา  
(2)  ได้กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ (3)  ผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่

ความผิดที่ไม่ต้องมีเจตนา ตามมาตรา 59 วรรคแรก บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา...เว้นแต่กรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนาความสำคัญผิด

1) ความสำคัญผิดในข้อเท็จจริง หรือการไม่รู้ข้อเท็จจริง สามารถแก้ตัวได้เป็นบางกรณี
2) สำคัญผิดในข้อกฎหมาย  ผลของการสำคัญผิดตามมาตรา 62 วรรคแรก
  1. ไม่มีความผิด
  2. มีความผิดแต่ได้รับการยกเว้นโทษ
  3. มีความผิดแต่ได้รับโทษน้อยลง
การกระทำโดยพลาด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 60 บัญญัติหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้
  1. เจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง
  2. แต่ผลของการกระทำเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งโดยพลาดไป
  3. ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำโดยเจตนาแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้น
  4. ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้น
(ก)  เพราะฐานะของบุคคล
(ข)  เพราะความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำกับบุคคลที่ได้รับผลร้าย มิให้นำกฎหมายนั้นมาใช้บังคับเพื่อลงโทษผู้กระทำให้หนักขึ้น


การกระทำโดยพลาดจะต้องประกอบด้วยบุคคล 3 ฝ่าย
  1. ฝ่ายซึ่งเป็นผู้กระทำ
  2. ฝ่ายซึ่งเป็นผู้ถูกกระทำคนแรกโดยมีเจตนากระทำต่อ
  3. ฝ่ายซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทำโดยพลาดและกฎหมายให้ถือว่าผู้กระทำมีเจตนากระทำต่อผู้ได้รับผลร้ายนี้


ตัวอย่าง - นายขาวเห็นนายแดงกำลังจะจมน้ำแต่ไม่ช่วยทั้ง ๆ นายขาวก็ว่ายน้ำเป็นแต่ยืนมองดูเฉย ๆ นายขาวมีความผิดหรือไม่


ตอบ - นายขาวเห็นนายแดงกำลังจะจมน้ำแต่ไม่ช่วยทั้ง ๆ นายขาวก็ว่ายน้ำเป็นแต่ยืนมองดูเฉย ๆ  นายขาวมีความผิดโดยการละเว้นการกระทำ เห็นผู้อื่นตกอยู่ในอันตรายถึงชีวิตแต่ไม่ช่วยมีความผิดตามมาตรา 374



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น