วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สรุปบทที่ 6 - เหตุที่ผู้กระทำย่อมมีอำนาจกระทำได้


1. การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ​หลักเกณฑ์ ​
(1) มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย ​
(2) เป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง​
(3) จำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่นให้พ้นภัยภยันตรายนั้น​​
(4) ผู้ใช้อำนาจป้องกันได้กระทำไปพอสมควรแก่เหตุ​

2. กฎหมายให้อำนาจกระทำได้ ​​นอกจากเรื่องป้องกันตัวแล้ว กฎหมายที่ให้อำนาจทำได้อีกนี้อาจเป็น
(1) กฎหมายลายลักษณ์อักษร ได้แก่
(ก) ประมวลกฎหมายอาญา
(ข) กฎหมายอื่นนอกจากกฎหมายอาญา
(ค) กฎหมายจารีตประเพณี​กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่เป็นประมวลกฎหมายอาญา อันได้บัญญัติให้ผู้กระทำมีอำนาจทำได้โดยไม่มีความผิดดังนี้​​- การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 68​​- การกระทำของแพทย์ให้หญิงแท้งลูกตามมาตรา 305​​- การแสดงความคิดเห็นหรือขัดความใดโดยสุจริตตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 329​​- การแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดในกระบวนพิจารณาคดีในศาลโดยคู่ความหรือทนายความของคู่ความ เพื่อประโยชน์แห่งคดีของตามมาตรา 331 ​กฎหมายลายลักษณ์อักษรอย่างอื่น ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญที่ให้เอกสิทธิ์ของสมาชิกสภาผู้แทน และผู้อื่นที่จะแสดงความคิดเห็นและพิมพ์โฆษณารายงาน การประชุม​​กฎหมายจารีตประเพณี เรื่องอำนาจในครอบครัว บิดามารดากับบุตรในการว่ากล่าวสั่งสอน ครูกับศิษย์ ซึ่งมีอำนาจเฆี่ยนตีสั่งสอนได้ตามควรแก่กรณี​
3. ความยินยอมของผู้เสียหาย​ในทางแพ่งมีหลักกฎหมายตามสุภาษิตอยู่ว่า "ความยินยอมทำให้ไม่เป็นละเมิด" หมายความว่าเมื่อบุคคลใดยินยอมให้บุคคลอื่นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ตนแล้ว จะกลับเอาการกระทำนั้นมาฟ้องเขาหาว่าละเมิดไม่ได้ แต่ในทางอาญาถือหลักว่าเอกชนไม่อาจยินยอมให้ผู้อื่นกระทำผิดแก่ตนได้ เพราะเป็นการกระทำความผิดต่อรัฐ เช่น การฆ่าด้วยความเมตตาซึ่งผู้ป่วยหรือผู้ได้รับความหมายไม่มีทางรอดชีวิต ขอร้องหรือยินยอมให้ผู้อื่นฆ่าตนเสียให้ตายเพื่อพ้นจากความทรมานที่ได้รับอยู่ ผู้ที่ฆ่าเขาด้วยความเมตตาเช่นนี้ก็ยังมีความคิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา​​​แต่ความผิดบางประการที่กฎหมายถือว่าจะเกิดขึ้นต่อเมื่อเป็นการกระทำโดยปราศจากความยินยอมของผู้เสียหาย และยอมให้นำหลักที่ว่า เมื่อยินยอมแล้วไม่เป็นความผิดมาใช้ เช่น​​- ความผิดที่เกิดขึ้นโดยการบังคับขู่หรือหลอกลวง ความผิดเหล่นรี้ถ้าผู้เสียหายยินยอมให้กระทำโดยบริสุทธิ์ใจ การกระทำก็ย่อมจะไม่เป็นความผิดอยู่เอง เช่น ความผิดเกี่ยวกับเพศ ตามมาตรา 276, 278 ความผิดต่อเสรีภาพ ตามมาตรา 309, 313 (2), 320 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ตามมาตรา 337 ถึงมาตรา 340,341

​ข้อสังเกต ความผิดเกี่ยวกับชีวิตหรือร่างกาย ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่า เมื่อให้ความยินยอมแล้วไม่เป็นความผิด ดังนั้น ในความผิดเกี่ยวกับชีวิตหรือร่างกาย แม้ว่าผู้เสียหายจะให้ความยินยอมก็ยังเป็นความผิดนั่นเอง​วิธีให้ความยินยอม​​​- จะให้ความยินยอมโดยแสดงออกชัดแจ้งหรือแสดงโดยปริยายก็ได้​​​ ​- ผู้ยินยอมจะต้องให้ความยินยอมโดยสมัครใจมิใช่ถูกบังคับขู่เข็ญหรือหลอกลวง​- ความยินยอมจะต้องเป็นความยินยอมที่มีอยู่ในลักษณะกำลังกระทำผิดหรือแสดงออกก่อน และยังคงมีอยู่มิได้บอกเลิกก่อนการกระทำผิดนั้นสิ้นสุดลง และความยินยอมนั้นจะต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน​การกระทำที่ทำให้ผู้กระทำไม่มีความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มีเหตุโดยสรุปได้ ดังนี้

​(1)​การป้องกัน​โดยมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ ดังนี้

​1.มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย​​
2.เป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง
3.จำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่นให้พ้นภัยภยันตรายนั้น
​4.ผู้ใช้อำนาจป้องกันได้กระทำไปพอสมควรแก่เหตุ

​(2) กฎหมายให้อำนาจกระทำได้
​(3) ความยินยอมของผู้เสียหาย

สหภัทร ลิมะมาพา 5339133025

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น